บพค. ลงพื้นที่ติดตามโครงการรูปแบบและนวัตกรรมการเรียนรู้แบบสมาร์ทสำหรับการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในสภาพแวดล้อมดิจิทัล

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) นำทีมโดย ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ บพค. รศ.ดร.รินา ภัทรมานนท์ ประธานคณะประสานงานคลัสเตอร์ด้าน Frontier Research บพค. และคุณจตุรภรณ์ โชคภูเขียว ประธานคณะประสานงานคลัสเตอร์ด้าน SHA และ AI รวมทั้งนักวิเคราะห์ บพค. ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน ณ ศูนย์วิจัยนวัตกรรมการเรียนการสอน ชั้น 7 อาคารศูนย์สารสนเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โครงการรูปแบบและนวัตกรรมการเรียนรู้แบบสมาร์ทสำหรับการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในสภาพแวดล้อมดิจิทัล โดย ศาสตราจารย์ ดร.กุลธิดา ท้วมสุข และนักวิจัยในโครงการให้การต้อนรับ

โครงการรูปแบบและนวัตกรรมการเรียนรู้แบบสมาร์ทสำหรับการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในสภาพแวดล้อมดิจิทัลเป็นโครงการรูปแบบและนวัตกรรมการเรียนรู้แบบสมาร์ทสำหรับการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในสภาพแวดล้อมดิจิทัล ในการรายงานความก้าวหน้า 18 เดือน ซึ่งรายงานต่อจากการนำเสนอก่อนหน้า 12 เดือน จะมีนักวิจัยทั้งหมด 44 คน ทั้งของมหาวิทยาลัยขอนแก่นและต่างมหาวิทยาลัย มีผลงานที่มากมายเป็นที่ประจักษ์ สำหรับแผนงานวิจัยนี้ มีระยะเวลา 3 ปี โดยมีโครงการย่อย 5 โครงการ เดิมได้รับเงินโครงการจากกระทรงศึกษาธิการ จากงบกลางปี เริ่มทำโครงการปี 2560 โรงเรียน 205 แห่ง พัฒนาผู้เรียนสมัยใหม่ โดยมีปัญหาเกี่ยวกับผลสอบของนักเรียนจากการทดสอบ วิชา วิทย์ คณิต อังกฤษ ที่มีผลการสอบต่ำ ในการแก้ไขปัญหา มุ่งเปลี่ยน 3 อย่าง แรก ต้องเปลี่ยนวิธีการสอนของครู สอง พฤติกรรมการเรียนรู้ 13-15 สาม สภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่เปลี่ยนไป ใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก การเปลี่ยนและสร้างแอพทางการเรียนรู้ ขอทุน บพค. เพื่อสร้างแฟลตฟอร์มการเรียนรู้ให้ ม1-3 ทั้งคุณครูและนักเรียน ครบทุกหัวข้อ อีกทั้งเครื่องมือต่างๆ ในการบริหารทั้งครูและนักเรียน เพื่อเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อีกทั้งในการประเมินผลนักเรียน

สุดท้าย ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ บพค. กล่าวเสนอแนะการควบรวมหรือการสร้างความร่วมมือในแต่ละโครงการและสร้างกลไกการรับผิดชอบแต่ละสัดส่วนภายใต้โครงการร่วม และนำไปพัฒนาต่อยอดในการผนวกองค์ความรู้ไปสู่รายวิชาเพิ่มเติมหรือรายวิชาเลือกเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเยาวชนอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต