บพค. ร่วมประชุมปิดโครงการแพลตฟอร์มการพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกฯ ด้านเศรษฐกิจ BCG มุ่งตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมไทย

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิรินันท์ กุลชาติ รองผู้อำนวยการ บพค. พร้อมด้วยนักวิเคราะห์ บพค. เข้าร่วมในงานประชุมรายงานสรุปปิดโครงการ “แพลตฟอร์มการพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกและนักวิจัยระดับหลังปริญญาโทด้านเศรษฐกิจ BCG และเทคโนโลยีขั้นแนวหน้าเพื่อขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไทย” ที่ บพค. ให้การสนับสนุน โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการ PETROMAT กล่าวต้อนรับ ซึ่งกิจกรรมที่จัดขึ้นในงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการวิจัยในภาพรวม และนำเสนอผลงานวิจัยย่อยในรูปแบบโปสเตอร์ รวมถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อโครงการฯ ร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา และนักวิจัยพี่เลี้ยงจากภาคเอกชน ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ

โอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิรินันท์ กุลชาติ รองผู้อำนวยการ บพค. ได้รับเกียรติกล่าวเปิดงานประชุมฯ โดยกล่าวว่า “ในฐานะหน่วยบริหารและจัดการทุนฯ มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้สนับสนุนทุนแก่นักวิจัยในระดับหลังปริญญาเอกและหลังปริญญาโทและได้เห็นความสำเร็จของโครงการฯ รวมถึงความร่วมมือจากหลายภาคอุตสาหกรรมที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมที่เป็นเทคโนโลยีขั้นแนวหน้าที่ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรฐกิจของประเทศไปสู่รูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า BCG Economy ต่อไป”

จากนั้น ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ ได้กล่าวรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการแพลตฟอร์มการพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกและนักวิจัยระดับหลังปริญญาโทด้านเศรษฐกิจ BCG และเทคโนโลยีขั้นแนวหน้าเพื่อขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไทย ปีงบประมาณ 2566 ภายใต้การสนับสนุนทุนจาก บพค. ว่า “โครงการฯ นี้มีแนวทางริเริ่มในการมุ่งเน้นใช้การวิจัยและพัฒนาซึ่งมีบทบาทสำคัญในการนำพาประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง (middle-income trap) ภายใต้แพลตฟอร์มที่เรียกว่า “Triple Helix model of Innovation” เพื่อสร้างนักวิจัยชั้นนำ โดยเน้นให้นักวิจัยได้รับประสบการณ์จริงในภาคอุตสาหกรรมในการแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยโครงการได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน จำนวน 23 แห่ง ในการส่งเสริมการสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรม ภาคอุตสาหกรรมเป็นกำลังหลักที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมาโดยตลอด อีกทั้ง ทำให้ GDP ของภาคอุตสาหกรรมเติบโตขึ้น โดยอาศัย BCG economy และ Frontier technology ทั้งนี้ โครงการได้ดำเนินการส่งเสริมบุคลากรวิจัยและพัฒนา จำนวน 40 คน หลังจบการดำเนินงานของโครงการ มีนักวิจัยได้เข้าสู่การทำงานในภาคเอกชน อาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัยในหน่วยงานภาครัฐ อีกทั้งยังคาดหวังว่าแพลตฟอร์มการพัฒนานักวิจัยด้านเศรษฐกิจ BCG และเทคโนโลยีขั้นแนวหน้าฯ นี้ จะมีส่วนที่ช่วยผลักดันให้เกิดการสร้างคนทักษะสูงทางด้านเศรษฐกิจ BCG และเทคโนโลยีขั้นแนวหน้าเพื่อให้กำลังคนกลุ่มนี้ได้พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ของประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีขั้นแนวหน้าต่อไป”

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “Next step Toward industry process ก้าวสู่ความสำเร็จในโลกอุตสาหกรรม” โดยมี ดร.ชาญชัย เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย และ ศาสตราจารย์ ดร.ปราโมช รังสรรค์วิจิตร คณบดีวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเสวนา โดยกล่าวว่า “การพัฒนาประเทศไทยไปสู่ Thailand 4.0 ต้องก้าวข้ามปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ โดยการอาศัยกลไกการพัฒนา 5P ได้แก่ people, process, product, partnership, policy) โดยฉพาะอย่างยิ่งกำลังคนทักษะสูง ที่ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยใช้หลักการ SKA ได้แก่ skill, knowledge, attitude ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อนำพาประเทศก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศรายได้สูง ทั้งนี้การทำธุรกิจในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ถือเป็นความท้าทายสำหรับทุกธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจยังสามารถอยู่รอดและเติบโตได้อย่างยั่งยืน ควรพัฒนาคนให้เป็นผู้ประกอบการที่มีทักษะการสร้างและพัฒนาแนวคิดนวัตกรรมตลอดทั้งองค์กร โดยยึดหลัก 5 อย่าง ได้แก่ cultural, chance, commitment, communication, costumer focus หากประเทศไทยสามารถพัฒนาและสนับสนุนกำลังคนที่จะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยอาศัยความร่วมมือจากภาคอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำในการผลักดันการต่อยอดนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรฐกิจประเทศไทยด้วยนวัตกรรมขั้นแนวหน้า”

บพค. ในฐานะหน่วยงานให้ทุน หวังเป็นอย่างยิ่งที่ว่า จะได้ร่วมงานกับผู้สนใจทุกท่านเพื่อสนับสนุนการให้ทุนด้านการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงด้านเศรษฐกิจ BCG และเทคโนโลยีขั้นแนวหน้า เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG และรองรับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมของประเทศไทย

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน
และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา
การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)

Program Management Unit for Human Resources & Institutional
Development,Research and Innovation (PMU-B)

319 อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 14 ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน
เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
02-109-5432 ต่อ 841
[email protected]

ช่องทางการติดต่อสารบรรณของหน่วยงาน :
[email protected]

      ติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่