เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2565 ดร.วรจิตต์ เศรษฐพรรค์ รองผู้อำนวยการ บพค. เข้าร่วม การประชุมสมาคมนักเรียนไทยในสหรัฐฯ ประจำปี 2565 (ATSA Annual Conference 2022) จัดโดย สำนักงานที่ปรึกษาด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อววน.) ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน
สมาคมนักเรียนไทยในสหรัฐฯ เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ถูกก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2562 โดยความร่วมมือจากสำนักงานที่ปรึกษาด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนไทยในสหรัฐฯ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน และสมาคมนักเรียนไทยจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในสหรัฐฯ กว่า 35 สถาบัน (ที่อยู่ใน 100 ลำดับแรก และยังขยายต่อเนื่องไปยังมหาวิทยาลัยอื่นที่มีชมรมนักเรียนไทย) เพื่อเป็นองค์กรกลางในระดับของเยาวชนที่อยู่ในภาคการอุดมศึกษาในสหรัฐอเมริกา ทั้งในส่วนของนักเรียนทุนรัฐบาล ทุนส่วนตัว และทุนอื่นๆ ให้มีส่วนพัฒนาเครือข่าย แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และเปิดโอกาสให้นำเครือข่ายและองค์ความรู้นั้นไปพัฒนาตัวเองและประเทศชาติ
การประชุมสมาคมนักเรียนไทยในสหรัฐฯ ประจำปี 2565 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 21 สิงหาคม 2565 ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐฯ ภายใต้หัวข้อ “Developing Sustainability for Thailand” โดยการประชุมในครั้งนี้เป็นเวทีที่ให้ผู้นำนักเรียนไทยจากกว่า 35 มหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐฯ และคณะกรรมการของสมาคมฯ รวมจำนวนกว่า 50 คน ได้มีโอกาสรับฟังนโยบายด้าน อววน. จากปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และวิทยากรจากหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน อีกทั้งจะเป็นโอกาสให้นักเรียนไทยได้มีการระดมความคิดในการช่วยพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาประเทศไทย และโลกในระดับสากล
การประชุมสมาคมนักเรียนไทยในสหรัฐฯ ประจำปี 2565 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 21 สิงหาคม 2565 ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐฯ ภายใต้หัวข้อ “Developing Sustainability for Thailand” โดยการประชุมในครั้งนี้เป็นเวทีที่ให้ผู้นำนักเรียนไทยจากกว่า 35 มหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐฯ และคณะกรรมการของสมาคมฯ รวมจำนวนกว่า 50 คน ได้มีโอกาสรับฟังนโยบายด้าน อววน. จากปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และวิทยากรจากหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน อีกทั้งจะเป็นโอกาสให้นักเรียนไทยได้มีการระดมความคิดในการช่วยพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาประเทศไทย และโลกในระดับสากล
โอกาสนี้ ดร.วรจิตต์ ในนาม บพค. ได้นำเสนอถึงประสบการณ์การเป็นนักเรียนไทยและประธานสมาคมนักเรียนไทย ในประเทศสหรัฐฯ และได้เชื่อมโยงโอกาสในการพัฒนากำลังคนไทยขั้นสูง Brainpower ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผ่านโปรแกรม National Postdoc/Postmaster ซึ่งจะมีโอกาสในการทำวิจัยร่วมกับเอกชน เพื่อให้มีความก้าวหน้าด้านการทำงานในประเทศไทย นอกจากนี้ยังได้นำเสนอรูปแบบและกลไกในการทำวิจัยขั้นแนวหน้า เช่น Earth Space, Quantum, AI, HEP, Frontier SHA, Frontier BCG ของประเทศไทย ตลอดจนงานด้าน Global Partnership ของทาง บพค. ที่เน้นการวิจัยแบบ Collaborative Research และ Joint Funding ร่วมกับหน่วยงานระดับนานาชาติ ทั้งนี้ โครงการด้าน ASEAN Talent Mobility+ ของ บพค. จะสร้างโอกาสให้ประเทศไทย ทำงานร่วมกับนักวิจัยอาเซียนในการแก้ปัญหา Grand challenge ระดับภูมิภาค เป็นโอกาสให้น้องๆ นักเรียนไทยสามารถเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมความร่วมมือกับนานาชาติได้
อย่างไรก็ตามการเข้าร่วมการประชุมสมาคมนักเรียนไทยในสหรัฐฯ ในครั้งนี้ ทางกระทรวง อว. มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะจุดประกายให้กับน้องๆ นักเรียนไทย ถึงแม้ว่าจะกลับประเทศไทย หรือ ทำงานต่อในต่างประเทศก็ยังมีโอกาสในการสนับสนุนและขับเคลื่อนประเทศไทยได้