บพค. ร่วมกับ ภาคการศึกษา-อุตสาหกรรม ประชุม Focus group หาแนวทางขยายผลระบบการจัดการศึกษา เพิ่มศักยภาพคนวัยทำงานและบัณฑิตศึกษา ตอบโจทย์อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2566 หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริปก พิศสุวรรณ รองผู้อำนวยการ บพค. พร้อมด้วยนักวิเคราะห์ บพค. เข้าร่วมการประชุมระดมความคิดเห็นกลุ่มย่อย (Focus group) ร่วมกับภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม ณ ห้องประชุม Tailor Hall ชั้น 9 โรงแรม เดอ ไพร์ม รางน้ำ (De Prime Rangnam) เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในโครงการ “การพัฒนาระบบการจัดการศึกษารูปแบบโรงเรียนฝึกทักษะ (Practice School) เพื่อเพิ่มสมรรถนะผู้เรียนให้ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต” เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการหาแนวทางการขยายผลการดำเนินงานสำหรับภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม โดยได้รับเกียรติจาก ดร.กัญญวิมว์ กีรติกร รักษาการแทนรองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม กล่าวต้อนรับและเปิดงาน

การจัดประชุม Focus group ในครั้งนี้ มีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยในการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน” โดย ผศ. ดร.มณฑิรา นพรัตน์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายอุตสาหกรรมและภาคีความร่วมมือ ซึ่งการทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมต้องมีการสร้างความไว้ใจ (Trust) และการสนับสนุนให้นอาจารย์ไปทำงานกับภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยต้องมีการสร้าง career path

โครงการ “การพัฒนาระบบการจัดการศึกษารูปแบบโรงเรียนฝึกทักษะ (Practice School) เพื่อเพิ่มสมรรถนะผู้เรียนให้ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต” โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ภายใต้การสนับสนุนทุนจาก บพค. เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564 มีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหาร ทั้งด้านการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรและการสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมในการทำงาน รวมทั้งการพัฒนาระบบการจัดการศึกษารูปแบบโรงเรียนฝึกทักษะ (Practice School) ซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนนวัตกรรมของอุตสาหกรรมอาหารผ่านความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย

ในการนี้ โครงการฯ ได้จัดประชุม Focus Group เพื่อรับข้อมูลความคิดเห็นและข้อจำกัดในการขยายผล จากตัวแทนภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษาต่อระบบการจัดการศึกษารูปแบบโรงเรียนฝึกทักษะ (Practice School) สำหรับอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยรัตน์ ตั้งดวงดี หัวหน้าโครงการ นำเสนอกรอบแนวคิดและผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินโครงการโรงเรียนฝึกทักษะนำร่อง ซึ่งมีการหารือแนวทางในการนำระบบการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบโรงเรียนฝึกทักษะไปใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยในการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน” โดย ผศ. ดร.มณฑิรา นพรัตน์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายอุตสาหกรรมและภาคีความร่วมมือ ซึ่งการทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมต้องมีการสร้างความไว้ใจ (Trust) และการสนับสนุนให้อาจารย์ไปทำงานกับภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยต้องมีการสร้าง career path และการเสวนาในหัวข้อ “ประสบการณ์และประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ” โดยตัวแทนจากทั้งภาคเอกชน (บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) และบริษัท มารีนโกลด์โปรดักส์ จำกัด) และบุคลากรจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อย่างไรก็ตาม

นอกเหนือจากการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับปริญญาโทให้มีทักษะตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคแล้ว โครงการฯ ยังสนับสนุนให้เกิดการ Reskill และ Upskill บุคลากรพนักงานจากภาคเอกชน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์ได้