เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2566 หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ บพค. และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิรินันท์ กุลชาติ รองผู้อำนวยการ บพค. พร้อมด้วยคณะประสานงานคลัสเตอร์ บพค. และนักวิเคราะห์ บพค. จัดการประชุมสัมมนาเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมของประเทศไทย ภายใต้การบริหารจัดการในรูปแบบคอนซอร์เตียม เพื่อสร้างเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ ณ ห้องประชุมแมนดารินบี โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ การประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันเทคโนโลยีควอนตัมของประเทศไทยให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างมีทิศทางและเป็นรูปธรรม ผ่านการหารือและการระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มภาคเอกชน และนักวิจัยทางด้านเทคโนโลยีควอนตัมที่มีศักยภาพสูงจากหลากหลายสถาบันทั่วประเทศ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดการประชุม
ภายในงานได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.วิทยา อมรกิจบำรุง บรรยายปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ทิศทางของการพัฒนากำลังคน และแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัม ของประเทศไทยให้ก้าวไปสู่สากล” อีกทั้งยังมีการสรุปภาพภาพรวมโครงการวิจัย “การสร้างและเสริมแกร่งระบบนิเวศแบบบูรณาการสำหรับการวิจัยทางเทคโนโลยีควอนตัมระดับประเทศ” ซี่งเป็นโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก บพค. นำเสนอโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วรวัฒน์ มีวาสนา สังกัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อแสดงถึงภาพรวมและความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านควอนตัมทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว พร้อมเชื่อมโยงไปถึงการสร้างเป็นระบบนิเวศทางด้านควอนตัมของประเทศ
นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภาคเอกชนและภาคการศึกษา ร่วมเวทีเสวนาในหัวข้อ “โอกาสและความต้องการของภาคอุตสาหกรรมกับบริบทห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมควอนตัมทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมให้กับประเทศไทย” นำโดย ดร.วิศิษฐ ทวีปรังษีพร อนุกรรมการเทคนิคด้านการวิจัยขั้นแนวหน้าของประเทศ บพค. รองศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ เชียงกา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คุณกิตติศักดิ์ กวีกิจมณี Quantum Technology Foundation (Thailand) และ คุณสุรวีร์ ลีฬหรัตนรักษ์ CEO บริษัท อีคิว เทค เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด เพื่อเปิดมุมมองจากภาคเอกชนและมุมมองจากภาคการศึกษา ที่จะสามารถสร้างโอกาส และจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีควอนให้ตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
ตลอดจนการจัดกิจกรรมร่วมระดมสมองจากผู้ทรงคุณวุฒิและคณะนักวิจัย ใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
โดยเป็นการระดมสมองเพื่อกำหนดทิศทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมและการพัฒนากำลังคนที่มีศักยภาพสูงให้ตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ภายใต้การบริหารจัดการในรูปแบบคอนซอร์เตียมและสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและตอบโจทย์ความต้องการของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาสังคมของไทย