เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2566 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) นำโดย ศ. ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ บพค. พร้อมด้วย ผศ. ดร.ศิรินันท์ กุลชาติ และ ผศ. ดร.วรจิตต์ เศรษฐพรรค์ รองผู้อำนวยการ บพค. พร้อมทั้งนักวิเคราะห์โครงการ บพค. ร่วมงานการปฐมนิเทศ และฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “โครงการการพัฒนากลไกการสร้างและสะสมบุคลากรวิจัยที่มีคุณภาพสูง (National Postdoctoral/ Postgraduate System of Thailand)” ประจำปีงบประมาณ 2565 ที่จัดขึ้นโดย บพค. ร่วมกับคณะประสานงานคลัสเตอร์ บพค. ระหว่างวันที่ 18 – 19 มกราคม 2566 ณ โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส กรุงเทพมหานคร
โอกาสนี้ ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ บพค. ในนามประธานในพิธีเปิดงานฯ กล่าวว่า ในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายด้าน Carbon Neutrality ในปี 2050 และ Net Zero ในปี 2065 ของประเทศไทยนั้น มีความท้าทายอย่างมากและมีความจำเป็นที่ต้องอาศัยผู้มีความรู้ ผู้เชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การลดปริมาณการปลดปล่อยและการกักเก็บ GHG ของประเทศ โดย บพค. มีเป้าหมายในการสนับสนุนการสร้างกำลังคนและงานวิจัยขั้นแนวหน้า และมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับเครือข่าย และ stake holder ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศเพื่อขับเคลื่อนให้ถึงเป้าหมาย
ด้าน ผศ. ดร.ศิรินันท์ กุลชาติ รองผู้อำนวยการ บพค. ได้นำเสนอเรื่อง “กระบวนการรายงานความก้าวหน้า และการส่งมอบผลงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ และเกณฑ์การพิจารณาทุนต่อในปีที่ 2” โดยภายในงานมีกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการที่มุ่งเน้นการพัฒนางานวิจัยแก่นักวิจัย อาทิ
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดกิจกรรม Role Play ในรูปแบบจำลองการแข่ง Pitching แนวคิดการขอทุนเพื่อต่อยอดโครงการวิจัย และสร้างเครือข่ายนักวิจัยในและต่างประเทศ และ “Interpersonal skill to achieve your goal.” นำโดย รศ. ดร.รินา ภัทรมานนท์ ประธานคณะประสานงานคลัสเตอร์ Frontier Technology ผศ. ดร.วรจิตต์ เศรษฐพรรค์ รองผู้อำนวยการ บพค. และทีมงานคณะประสานงานคลัสเตอร์ บพค. โดยกิจกรรม Role Play ช่วยพัฒนาทักษะของนักวิจัยในด้านการสร้างเครือข่ายงานวิจัย การนำเสนองานวิจัย การพัฒนาบุคลิกภาพ การสื่อสาร ทักษะด้านสหสาขาและบูรณาการ รวมถึงทักษะการบริหารจัดการโครงการให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย (Soft-skill) เพื่อให้นักวิจัยได้รับความรู้ด้านทักษะที่จำเป็นในการสื่อสารเพื่อนำพางานวิจัยและนวัตกรรมให้เกิดการต่อยอดหรือใช้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของการพัฒนางานวิจัยในปัจจุบัน รวมถึงการสร้างเครือข่ายระหว่างนักวิจัยในโครงการเพื่อก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีภายใน Consortium อีกด้วย