เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) นำโดย ผศ. ดร.วรจิตต์ เศรษฐพรรค์ รองผู้อำนวยการ บพค. พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว และ ศ.ดร.ศักดา ดาดวง ผู้ทรงคุณวุฒิจาก สอวช. ดร.อรพรรณ เวียรชัย ดร.ธิดารัตน์ โกมลวานิช และ ดร.สุธิดา พิริยะการสกุล รวมทั้งนักวิเคราะห์อาวุโสและนักวิเคราะห์โครงการ บพค. ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินโครงการ “แพลตฟอร์มบริหารจัดการทรัพยากรผู้มีศักยภาพของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เพื่อปฏิรูประบบการพัฒนากำลังคนของประเทศ (TRM – Talent Resource Management)” ภายใต้แผนงานระบบส่งเสริมการเคลื่อนย้ายบุคลากรจากสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภาครัฐไปปฏิบัติงานในภาคการผลิตบริการ สังคมและชุมชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ โปรแกรม 1 สร้างระบบผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพ ประจำปีงบประมาณ 2564 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จังหวัดชลบุรี และพื้นที่บริษัทเอกชนที่ร่วมโครงการ
โดยมี ผศ.ดร.คมกฤช กิตติพร คณบดีสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ให้การต้อนรับคณะผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมกล่าวถึงภาพรวมของโครงการ TRM ที่มีความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง 36 วิทยาเขตทั่วประเทศ โดยมีหัวหน้าโครงการ TRM รศ. ดร.กฤษณ์ชนม์ ภูมิกิตติพิชญ์ สังกัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี รายงานผลการดำเนินงานโครงการภายใต้ปีงบประมาณ 2564 ร่วมด้วย นักวิจัยในโครงการ TRM อาจารย์ทัศพันธุ์ สุวรรณทัต ร่วมนำเสนองานวิจัย และ Premium Course ด้าน “การพัฒนาระบบนำทางรถไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติสำหรับงานขนย้ายวัสดุภายนอกอาคารโรงงาน” โดยสถานประกอบการได้ให้ความอนุเคราะห์หุ่นยนต์แก่นักศึกษา เพื่อฝึกฝนการปรับปรุงดัดแปลงหุ่นยนต์ให้สามารถใช้งานได้จริงในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสนับสนุนจากสถานประกอบการที่เป็นผลของแพลตฟอร์มความร่วมมือภายใต้โครงการ TRM
จากการลงพื้นที่ของบริษัทเอกชนที่ได้เข้าร่วมโครงการทั้ง 2 แห่ง ได้แก่
โครงการ TRM มีความโดดเด่นที่สามารถเฟ้นหาและพัฒนา (Scout & Groom) ทักษะของอาจารย์ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง ให้ทำงานร่วมกับสถานประกอบการได้โดยใช้ความเชี่ยวชาญของอาจารย์และกระบวนการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาของสถานประกอบการ นอกจากนี้ โครงการ TRM ยังสามารถสร้างระบบนิเวศและปรับกฎระเบียบภายในมหาวิทยาลัยให้เอื้อและสนับสนุนการทำงานระหว่างอาจารย์กับภาคเอกชนโดยเกิดผลประโยชน์ในการสร้างนวัตกรรม การพัฒนาและสร้างงานให้แก่นักศึกษาได้อีกด้วย ถือว่าเป็นต้นแบบของโครงการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัย “High Caliber Impact Oriented Researcher” ที่ บพค. มุ่งสนับสนุน