Gamification อีกหนึ่ง “นวัตกรรมการเรียนรู้” แห่งศตวรรษที่ 21

หนึ่งในปัจจัยสำคัญของ “ทักษะในศตวรรษที่ 21” ก็คือ Multi Skills หรือ “พหุทักษะ”
การนำ Gamification มาใช้เป็น “นวัตกรรมการเรียนรู้” ในแง่ของเครื่องมือในการฝึกอบรม มีความเหมาะสมสำหรับศตวรรษที่ 21 เป็นอย่างมาก เพราะ Gamification หมายถึง การนำ Game มาผ่านกระบวนการออกแบบ และการบริหารจัดการหลักสูตร เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ที่ทำให้การฝึกอบรมในรายวิชาที่มีความซับซ้อน ยุ่งยาก และน่าเบื่อในอดีต กลายเป็นการฝึกอบรมที่สนุกสนาน และเข้าถึงได้ง่ายกว่าการฝึกอบรมรูปแบบเดิม

ตัวอย่าง Gamification ที่เข้าถึงคนในวงกว้าง คือ “เกมเก้าอี้ดนตรี”
อุปกรณ์การเล่น “เกมเก้าอี้ดนตรี” มีแค่ “เก้าอี้” กับ “เสียงเพลง” กติกาคือ วาง “เก้าอี้” ไว้กลางห้อง แล้วให้ผู้เล่นเกมเดินวนรอบๆ โดยจำนวน “เก้าอี้” จะต้องมีน้อยกว่าปริมาณผู้เล่น การเล่นใน 1 รอบ จะเปิดเพลงแล้วให้ผู้เล่นเดินวนรอบ “เก้าอี้” จากนั้น เมื่อเพลงหยุด ผู้เล่นจะต้องแย่งกันนั่ง คนที่แย่งไม่ทันถูกปรับแพ้ต้องออกจากเกม จากนั้น เล่นเกมในรอบที่ 2-3-4 จนกระทั่งเหลือ “เก้าอี้ 1 ตัว” กับผู้เล่น อาจจะ 2-3 คน คนสุดท้ายที่ได้นั่ง “เก้าอี้” คือผู้ชนะใน “เกมเก้าอี้ดนตรี”

นอกจาก “เกมเก้าอี้ดนตรี” อีกเกมหนึ่งที่มีความคล้ายคลึงกับ “เกมเก้าอี้ดนตรี” ก็คือ “มอญซ่อนผ้า” Gamification แบบง่ายๆ ที่เล่นกันมาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงพนักงาน Office

ตัวอย่างอีกเกมหนึ่งซึ่งพบเห็นได้บ่อยในโลกแห่งความเป็นจริง และดูเหมือนว่า ในระยะหลังจะมีบริษัทห้างร้านใช้ Gamification แบบง่ายๆ นี้ มาเป็นเครื่องมือในการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาด นั่นก็คือ “สแตมป์สะสมแต้ม” เพื่อใช้เป็น Point สำหรับแลกซื้อสินค้า นี่คือรูปแบบ Gamification ซึ่งคิดค้นมาเพื่อกระตุ้นพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า ที่สามารถ Up Level เป็นแรงจูงใจในการรับสิทธิพิเศษต่างๆ นั่นเอง

จากตัวอย่าง “เกมเก้าอี้ดนตรี” หรือ “มอญซ่อนผ้า” และ “สแตมป์สะสมแต้ม” จะเห็นได้ว่า มีการนำ Game มาเป็นเครื่องมือในการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ใหม่ๆ กระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้น ยิ่งหากนำมาปรับใช้กับการฝึกอบรมแล้ว จะสร้างประโยชน์ได้หลากหลายมาก โดยรูปแบบของ Gamification นั้น ตรงกับทฤษฎีหนึ่งของ ศาสตราจารย์ ดร. Sebastian Deterding ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่ง Gamification” เพราะศาสตราจารย์ ดร. Sebastian Deterding เป็นผู้คิดค้นแผนภาพ Gamification เพื่อแสดงให้เห็นรูปแบบของการเล่น Game และการใช้ Game มาประยุกต์เข้ากับกิจกรรมต่างๆ ดังภาพประกอบ

จากภาพ จะเห็นได้ว่า Gamification อยู่ใน Zone ของ Game (Zone ด้านบน) เพราะ Gamification ไม่ใช่รูปแบบ “ของเล่น” หรือ Toy และการที่ ศาสตราจารย์ ดร. Sebastian Deterding กำหนดให้ Gamification อยู่ใน Zone ของ Game (Zone ด้านบน) ทางขวาด้วยนั้น เหตุผลก็คือ การออกแบบของ Gamification ไม่ใช่การรองรับ “การเล่น Game” แต่เป็นการออกแบบ Gamification ให้เป็นเพียง “ส่วนหนึ่งของ Game” หรือ Elements ที่มีลักษณะเดียวกับ Game แต่มีเป้าหมายเพื่อการฝึกอบรม ต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับ Zone ของ Toy ที่มีวัตถุประสงค์เป็น “การเล่น Game” เพื่อความสนุกสนาน หรือ Playful Interaction ที่มีลักษณะของ “การเล่นแบบล้วนๆ” หรือ Play โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน Zone ของ Game (Zone ด้านบน) ทางซ้าย ที่เป็น Serious Game ซึ่งจะนำลักษณะของ Game ทั้งหมด (Whole) มาใช้ในการทำกิจกรรม

ตัวอย่างของ Serious Game ที่เห็นได้ชัดก็คือ การที่ LEGO ได้สร้างหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับผู้ใหญ่ โดยใช้ตัวต่อ LEGO มาเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งทาง LEGO ได้ตั้งชื่อเอาไว้ ชนิดที่เรียกว่า ตรงตามทฤษฎีของ ศาสตราจารย์ ดร. Sebastian Deterding เลย นั่นก็คือ LEGO Serious Game

สำหรับตัวอย่างที่ชัดเจนอีกอันหนึ่งของ Gamification ที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายในช่วง 4-5 ปีมานี้ก็คือ การนำ Board Game มาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ แน่นอนว่า การประยุกต์ Board Game เป็นอุปกรณ์ในการจัดฝึกอบรมนั้น อาจไม่ตอบโจทย์หลักสูตรเท่าที่ควร เพราะแรกเริ่มเดิมที Board Game ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้ในการจัดการเรียนรู้ เราจึงเห็นการหยิบเอาจุดเด่นบางจุดของ Board Game บาง Board Game มาใช้ในการจัดฝึกอบรม ที่บางครั้งต้องใช้ Board Game มากกว่า 1 อัน

อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะใช้ Board Game หลายอัน หรือจะใช้ Game ง่ายๆ อย่าง “เก้าอี้ดนตรี” หรือ “มอญซ่อนผ้า” และ “แสตมป์สะสมแต้ม” ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการออกแบบ Gamification ให้ตรงกับความต้องการขององค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ “นวัตกรรมการเรียนรู้” อย่าง Gamification ประกอบการฝึกอบรม ให้ตรงกับจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทักษะในศตวรรษที่ 21” ดังนั้น Gamification จึงเป็นอีกหนึ่ง “นวัตกรรมการเรียนรู้” แห่งศตวรรษที่ 21 นั่นเอง

ที่มาจาก : 🌐www.salika.co : By Jakkrit Siririn