เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2565 บพค. นำโดย ผศ.ดร.ศิรินันท์ กุลชาติ รองผู้อำนวยการ บพค. พร้อมด้วยคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ รวมถึงนักวิเคราะห์โครงการ ร่วมลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินโครงการภายใต้แผนงานข้อ ริเริ่มการวิจัยขั้นแนวหน้าประเทศไทย โปรแกรม 5 ส่งเสริมการวิจัยขั้นแนวหน้า และการวิจัยพื้นฐานที่ประเทศไทยมีศักยภาพ (จำนวน 2 โครงการ) และแผนงานโครงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือนานาชาติเพื่อการยกระดับความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย/ สถาบันวิจัยไทย โปรแกรม 16 การปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Organization Bridging Fund (จำนวน 1 โครงการ) ดังนี้
โดย ผศ.ดร.ศิรินันท์ฯ คณะผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิเคราะห์โครงการ เดินทางไปยังคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อติดตามโครงการ โดยมี รศ. นพ.สิทธิ์ สาธรสุเมธี รองคณบดีฝ่ายวิจัยเเละนวัตกรรม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้การต้อนรับ จากนั้น ผศ.ดร.ศิรินันท์ฯ ได้กล่าวชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ของการติดตามโครงการ และการบริหารจัดการโครงการ และรับฟังการนำเสนอผลการดำเนินโครงการ
ในการนี้ ศ.ดร. อังคณา ฉายประเสริฐ หัวหน้าโครงการ และคณะร่วมผู้วิจัยในโครงการ “การพัฒนาวิธีตรวจวินิจฉัยวัณโรคในลิงแสมไทยและอุบัติการณ์ของโรคในธรรมชาติ ร่วมกับการศึกษาความสัมพันธ์ของสังคมจุลชีพในระบบทางเดินอาหารและยีนที่เกี่ยวข้องในลิงแสมและยีนเชื้อวัณโรค” ได้นำเสนอวัตถุประสงค์ กรอบการวิจัย และผลการดำเนินงานในภาพรวมของแผนงาน ซึ่งประกอบด้วย 3 โครงการย่อย โดยมีเป้าหมายหลักในการพัฒนาวิธีตรวจวินิจฉัยวัณโรคในลิงแสม ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อก่อวัณโรคในลิงเทียบกับเชื้อก่อโรคในคน ศึกษาความสัมพันธ์ของ Gut microbiota ต่อการติดเชื้อวัณโรคในลิงแสม และศึกษากลไกในการติดเชื้อวัณโรคและการแสดงออกของอาการ ที่สัมพันธ์กับลักษณะทางพันธุกรรม (Genome) ในลิงแสมในธรรมชาติ โดยข้อมูลที่ได้นี้จะก่อให้เกิดการต่อยอดองค์ความรู้ในการนำลิงแสมที่ติดเชื้อวัณโรคในธรรมชาติไปใช้เป็นสัตว์ทดลองในการทดสอบยาและวัคซีนวัณโรคสำหรับคนต่อไป ซึ่งจากผลการดำเนินงาน คณะผู้วิจัยสามารถพัฒนาการตรวจวินิจฉัยวัณโรคเพื่อแยกระหว่างลิงที่ติดเชื้อกับลิงที่ไม่ติดเชื้อวัณโรคด้วยวิธี In-house monkey Interferon-Gamma Release Assay ซึ่งเป็นวิธีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถตรวจในลิงได้รวดเร็วขึ้น ศึกษาพบกลุ่มแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อวัณโรค ในทางเดินอาหารของลิงแสม และวิเคราะห์หาลำดับเบสของแบคทีเรียด้วย Oxford Nanopore Technology ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่และมีประสิทธิภาพสูง รวมถึงทำการสำรวจและศึกษาการระบาดของวัณโรคในลิงแสมชนิดย่อยธรรมดา (Macaca fascicularis) และลิงวอก (Macaca mulatta) ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติและมีปฏิสัมพันธ์กับคนในประเทศไทยจาก 17 แหล่ง เป็นจำนวนกว่า 890 ตัวอย่าง ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และได้ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการ โดยผลการดำเนินงานในระยะ 1 ปีดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายการสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อสร้างงานวิจัยขั้นแนวหน้า และก่อให้เกิดผลลัพธ์และผลกระทบที่มีความสำคัญต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ เนื่องจากเป็นการสร้างองค์ความรู้เชิงลึกที่สามารถต่อยอดการศึกษาวัณโรคในคนต่อไป
โดย ผศ.ดร.ศิรินันท์ฯ คณะผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิเคราะห์โครงการ เดินทางไปยังคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อติดตามโครงการ โดยมี รศ. นพ.สิทธิ์ สาธรสุเมธี รองคณบดีฝ่ายวิจัยเเละนวัตกรรม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้การต้อนรับ จากนั้น ผศ.ดร.ศิรินันท์ฯ ได้กล่าวชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ของการติดตามโครงการ และการบริหารจัดการโครงการ และรับฟังการนำเสนอผลการดำเนินโครงการ
จากนั้น บพค. และคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ได้เดินทางไปยังคณะวิทยาศาสตร์ (พญาไท) มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร เพื่อลงพื้นที่ติดตามอีก 2 โครงการ โอกาสนี้ ผศ.ดร.ศิรินันท์ฯ ได้กล่าวชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ของการติดตามโครงการ และการบริหารจัดการโครงการ โดยมี ศ.ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วยคณะผู้วิจัย ได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และร่วมรับฟังการนำเสนอผลการดำเนินโครงการ
โดย ศ. ดร.วิชัย ริ้วตระกูล หัวหน้าโครงการ “การผลิตกำลังคนคุณภาพสูงและการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาผ่านการสร้างความร่วมมือด้านนวัตกรรมทรัพยากรชีวภาพทางเคมีชีวภาพเมตาโบโลมิกส์ของสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและวัสดุเพื่อความยั่งยืน” ได้นำเสนอความก้าวหน้าของโครงการภายใต้จุดประสงค์ของงาน ได้แก่
จากนั้น บพค. และผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ร่วมรับฟังนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการ “บูรณาการองค์ความรู้พื้นฐานของระบบทางเดินอาหารกุ้งอย่างเป็นระบบ: โครงสร้าง บทบาทและหน้าที่” โดยมี รศ. ดร.รพีพรรณ วานิชวิริยกิจ เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่งเป็นโครงการวิจัยที่มุ่งเน้นศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารของกุ้งขาวทั้งระบบ ทั้งด้านโครงสร้าง หน้าที่ และบทบาทของอวัยวะและเซลล์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประชากรสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระบบทางเดินอาหารของกุ้งในแต่ละช่วงอายุของการเจริญเติบโต โดยความเข้าใจเหล่านี้จะนำมาสู่มารฐานการเพาะเลี้ยง และการเพิ่มขีดความสามารถการทำงานของระบบทางเดินอาหารในกุ้ง อีกทั้งพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารกุ้งให้สามารถผลิตอาหารที่มีประสิทธิภาพต่อการพัฒนาคุณภาพกุ้งเพื่อการบริโภคและส่งออกอย่างยั่งยืนได้ต่อไป โดยทั้งนี้ผลการศึกษาในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา นักวิจัยศึกษาพบข้อมูลบทบาทหน้าที่การทำงานที่ขาดความเข้าใจมาก่อนเช่น ระบบ Cellular organization of hetero pancreases ของกุ้งซึ่งเป็นระบบที่มีความสำคัญต่อระบบการย่อยของกุ้ง การค้นพบรูปแบบการเก็บกับและขับถ่าย (gut transportation) และอิทธิพลจาก Neuroanatomical ที่มีผลต่อการเลือกกินอาหารของกุ้ง เป็นต้น โดยผู้ทรงคุณวุฒได้ให้ความสนใจต่อผลการศึกษาและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่การดำเนินงานในช่วงเวลาต่อไปของโครงการ
จากนั้น รศ. ดร.รพีพรรณ วานิชวิริยกิจ ได้นำคณะ บพค. และผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าเยี่ยมชมพื้นที่หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง ได้แก่ ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และห้อง Shrimp reproduction and genetic improvement platform group ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการหลักสำหรับการศึกษาระบบทางเดินอาหารกุ้ง
ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่ติดตามโครงการนี้ นักวิจัยได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวางและได้รับคำแนะนำจากคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ ต่อผลการดำเนินงาน และแนวทางในการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยเพื่อให้เกิดผลลัพธ์และผลกระทบต่อประเทศมากยิ่งขึ้น รวมถึงได้สร้างความเข้าใจและเห็นถึงผลการดำเนินโครงการในภาพรวมระยะ 1 ปี ซึ่งสะท้อนได้ชัดเจนมากขึ้นจากการเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการและลงพื้นที่เยี่ยมชมสถาบันวิจัย อีกทั้งได้รับฟังและแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างนักวิจัยและหน่วยงานผู้ให้ทุน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานร่วมกันในอนาคตต่อไป