skill/Up-skill/New-skill เพื่อสร้างกำลังคนสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ระหว่าง หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) กับมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ บพค. และ รองศาสตราจารย์ มาลิณี จุโฑปะมา ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) เป็นผู้ลงนามจากทั้งสองฝ่าย อีกทั้งยังมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริปก พิศสุวรรณ รองผู้อำนวยการ บพค. และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุวลักษณ์ เวชวิทยาขลัง รองประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นพยานการลงนามในบันทึกข้อตกลงฯ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างการประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 7 – 8 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมพิกุล อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
นางสาวศุภมาสฯ กล่าวเน้นย้ำถึงภารกิจของกระทรวง ว่า “อว. พร้อมเป็นหนึ่งกลไกในการขับเคลื่อนนโยบายการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่จำเป็นของกำลังคนคนไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ให้ดึงเอาศักยภาพของท้องถิ่นที่มีอยู่ขึ้นมาสร้างรายได้ สร้างอาชีพที่ยั่งยืนได้ รวมถึงการทำระบบคลังหน่วยกิตแห่งชาติ (National Credit Bank) ที่ใช้ในการเทียบโอนวิชาหรือสมรรถนะที่ได้จากการศึกษาในแต่ละแห่งได้ และการจัดทำแผนที่ทักษะ/สมรรถนะ (Skill Mapping) เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนให้ได้ตรงตามเป้าหมายของประเทศ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏจะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายเหล่านี้ ร่วมกับระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ที่มีหน่วยบริหารและจัดการทุน (Program Management Unit: PMU) ทั้ง 9 หน่วยงาน คอยสนับสนุนไปพร้อมๆ กับระบบอุดมศึกษา เช่น หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) เป็นต้น
ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.สมปองฯ กล่าวอีกว่า บพค. ในฐานะหน่วยบริหารและจัดการทุน (Program Management Unit: PMU) ภายใต้กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่รับผิดชอบแผนงานการพัฒนากำลังคนทักษะสูงให้ตรงต่อความต้องการของประเทศ ซึ่งมีพันธกิจสอดคล้องตามนโยบายการพัฒนาทักษะแรงงานของคนไทยให้สูงขึ้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศให้เทียบเท่าระดับสากลได้ ซึ่งมีหนึ่งแผนงานการพัฒนาทักษะเดิม เพิ่มทักษะใหม่ (Re-skill/Up-skill/New-skill) ที่จำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผ่านการขับเคลื่อนในระบบอุดมศึกษาของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่งที่อยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยการสร้างความร่วมมือผ่าน MOU ฉบับนี้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้
1) เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนากำลังคนสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ผ่านการพัฒนาทักษะ Re-skill/Up-skill/New-skill ด้วยกระบวนการบ่มเพาะทักษะจากภาควิชาการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
2) เพื่อส่งเสริมระบบนิเวศการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม ที่สนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
3) เพื่อเผยแพร่และสนับสนุนการเกิดเศรษฐกิจใหม่ทางด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ด้วยการสนับสนุนการใช้นวัตกรรมจากรากฐานศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัย
นอกจากนี้ MOU ฉบับนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของการพัฒนาทักษะของคนไทยให้สามารถขับเคลื่อนแพลตฟอร์มการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หรือการเรียนรู้ได้อย่างไร้ขีดจำกัด ซึ่งไม่ว่าคนเหล่านั้นจะอยู่ส่วนไหนของสังคม ย่อมสามารถเข้ามาเรียนรู้กับระบบเหล่านี้ได้ตามที่ต้องการ อีกทั้งยังเป็นผลงานระยะเร่งด่วน (Quickwin) ของกระทรวง อว. ที่จะสร้างมูลค่าให้แก่ประชาชนและประเทศชาติอย่างมหาศาล เพราะอุตสาหกรรมจะเกิดขึ้นได้ ต้องสร้างคนให้เพียบพร้อมก่อน และมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่งนี้ จะเป็น Key Players ที่สำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาคนในระดับท้องถิ่นและภูมิภาคต่อไปอย่างยั่งยืน